กางข้อมูล อาคาร สตง. แห่งใหม่ ก่อนถล่ม

กางข้อมูล อาคาร สตง. แห่งใหม่ ก่อนถล่ม
Share

แผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 8.2 ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา เมื่อเวลา 13.20 น. ของวันที่ 28 มี.ค. ส่งแรงสะเทือนถึงประเทศไทยหลายพื้นที่ โดยเฉพาะอาคารที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน แห่งใหม่ที่กำลังก่อสร้าง ถล่ม TheCommunica พามารู้จักกับสำนักงานแห่งนี้

 

อาคารสำนักงาน สตง. (Thailand Office of the Auditor General) แห่งใหม่ ความสูง 30 ชั้น ประกอบด้วย 3 อาคารหลัก ได้แก่  อาคารสำนักงาน  อาคารประชุม และ อาคารจอดรถ รวมพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมด 96,041 ตารางเมตร ใช้งบประมาณแผ่นดิน 2,136 ล้านบาท ตั้งบนเนื้อที่ 11 ไร่ บริเวณย่านการค้าตลาดนัดจตุจักร ใกล้ MRT ทางทิศตะวันตกติดกับ ติดสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (บางซื่อ)

 

บริษัทก่อสร้าง ตามสัญญาเลขที่ 021/2564 ลงวันที่ 23 พ.ย. 2563 จ้างกิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี (ร่วมทุนระหว่าง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจากประเทศจีน)  ก่อสร้างอาคารแห่งใหม่ พร้อมสิ่งก่อสร้าง ประกอบ จํานวนเงิน 2,136 ล้านบาท

 

จะว่าไปโครงการนี้เป็นความท้าทายครั้งใหญ่ เพราะ สตง.เป็นหน่วยงานมีบทบาทในการควบคุมและตรวจสอบงบประมาณของประเทศ  ดังนั้นการก่อสร้างสำนักงาน จึงต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีการตรวจสอบประจำวัน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานไทย มาตรฐานระดับชาติของจีน และมาตรฐานอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ

 

ก่อนหน้านี้ ไชน่า เรลเวย์ 10 เอนจิเนียริ่ง กรุ๊ป หรือชื่อจีนเรียกว่า บริษัท จงเที่ยสือจวี่จี๋ตวน รัฐวิสาหกิจจากประเทศจีน เคยภาคภูมิใจว่า อาคารนี้เป็นโครงการอาคารสูงพิเศษแห่งแรกในต่างประเทศของบริษัท เป็นการแสดงศักยภาพของวิศวกรรมจีนในตลาดต่างประเทศ และเป็นใบเบิกทางในการแข่งขันด้านวิศวกรรมของจีนที่รุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเรียกอาคารนี้ว่า “นามบัตรใบแรกของบริษัทฯ ในประเทศไทย” เป็นการขยายบทบาทของจีนในไทย อย่างมีนัยสำคัญ แต่เมื่อมีเหตุการณ์ถล่ม มีการลบข้อมูลทุกสิ่งออก

 

หลายคนวิจารณ์ว่า เมืองกรุงเทพมีตึกสูงตั้งหลายร้อยตึก แต่มีแค่ตึก สตง.หลังนี้ที่ถล่ม พร้อมตั้งคำถามถึงมาตรฐานงานก่อสร้าง และความโปร่งใสของโครงการที่ใช้งบประมาณมหาศาล ต้องบอกว่า ในการก่อสร้างครั้งนี้จึงมีการนำเทคโนโลยีการก่อสร้างขั้นสูงตลอดกระบวนการ ที่ซับซ้อนมาใช้ เพราะจัดอยู่ในหมวดหมู่อาคารสูงพิเศษตามมาตรฐานสากล โครงสร้างของอาคารหลังนี้เป็นแบบพื้นไร้คาน คือไม่มีคาน ใช้แกนกลางรับแรง อาศัยเสาค้ำพื้นเท่านั้น เป็นที่วิจารณ์ว่า ความต้านทานต่อแผ่นดินไหวของอาคารหลังนี้จึงไม่สูงเท่ากับโครงสร้างโครงแบบดั้งเดิม

 

แกนกลางใช้โครงสร้างแบบสลิปฟอร์ม อุปกรณ์เลื่อนแบบหล่อขึ้นทีละ 1.2 เมตร ควบคุมความหนาของคอนกรีตไม่เกิน 25 ซม. และรักษาความแม่นยำในแนวนอนให้ไม่คลาดเคลื่อนเกิน 1 ซม.

 

ใช้เทคโนโลยีการติดตั้งแบบยก ให้ผิวเรียบและแข็งแรง ติดตั้งและรื้อถอนได้รวดเร็ว  โครงสร้างภายนอกใช้เทคโนโลยีก่อสร้างแบบโครงปีน เพิ่มความปลอดภัยและความเร็วในการก่อสร้าง พร้อมประหยัดวัสดุ

 

การวางท่อและสายไฟ ไม่มีการชนกันของระบบท่อและสายไฟ  มีประสิทธิภาพในการใช้งานระยะยาว

 

แม้ก่อนเกิดเหตุ โครงการก่อสร้างมีความคืบหน้าไปแล้ว ร้อยละ 30 ของแผนการดำเนินงานแล้ว แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว สิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เราต้องติดตามความคืบหน้ากันต่อไป แต่ต้องบอกว่า อาคารแห่งนี้มีความสำคัญเชิงเศรษฐกิจ และเชิงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจริง..จริง