การปฏิรูปสู่ดิจิทัล และ AI สำหรับอุตสาหกรรม สร้างจุดเปลี่ยนให้โลกพลังงาน

Share

ทุกวันนี้ ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลให้ศักยภาพในการปฏิรูปพลังงาน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการผลิตให้สอดรับกับความต้องการได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยเร่งให้เปลี่ยนไปใช้ระบบพลังงานที่ลดการปล่อยคาร์บอนได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตามหลายบริษัทกำลังพยายามทำความเข้าใจถึงคุณค่าที่แท้จริงในการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ แต่กระนั้นก็ยังคงมีอุปสรรคที่ขัดขวางการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายอยู่ดี แม้ว่าระบบอัจฉริยะสำหรับอุตสาหกรรมจะเป็นตัวเร่งให้มีการใช้งานก็ตาม ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีทั้งหมด หรือไม่ใช้เลย แต่ให้เริ่มจากกรณีการใช้งานที่เกี่ยวข้องที่สุดสำหรับธุรกิจ

ฟิลิปป์ แรมบาค ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีอัจฉริยะของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ย้ำว่า “การนำเทคโนโลยีมาใช้ให้ประสบความสำเร็จนั้น ต้องเข้าใจถึงศักยภาพที่แท้จริงของมัน นอกเหนือจากการสาธิตการใช้งานที่สวยหรูดูดี และเข้าใจถึงผลกระทบต่อธุรกิจ” มุมมองที่เน้นธุรกิจเป็นศูนย์กลาง (Business-centric) จะช่วยให้บรรดาผู้นำสามารถตอบคำถามสำคัญได้ว่า “ควรใช้เทคโนโลยีนี้ดีหรือไม่”

การปฏิรูปสู่ดิจิทัล และเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรม ให้ประโยชน์ในอนาคตอันใกล้อย่างไร?

ช่วยลดการปล่อยคาร์บอน โดยเทคโนโลยีสามารถปรับกระบวนการที่ใช้พลังงานสูงในโรงงาน อาคาร และแม้แต่โรงบำบัดน้ำเสียให้มีการใช้งานได้เหมาะสมยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น Gradska Toplana ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการระบบทำความร้อนในเขต Karlovac ประเทศโครเอเชีย รองรับพลเมืองมากกว่า 8,000 ราย โดยใช้ระบบ District Energy ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค พร้อมระบบพยากรณ์ความต้องการพลังงาน เพื่อปรับการใช้พลังงานได้เหมาะสม ลดต้นทุนการดำเนินงานและการบำรุงรักษา รวมถึงลดการปล่อยมลพิษ

ควบคุมความต้องการพลังงานให้เหมาะสม โดยเทคโนโลยีสามารถบริหารจัดการไมโครกริด และสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานเกินขอบเขต ซึ่งซอฟต์แวร์ EcoStruxure™ Microgrid Advisor ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค จะช่วยให้จัดการเรื่องดีมานด์และซัพพลายด้านพลังงานได้เหมาะสมยิ่งขึ้น ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อช่วยให้ลูกค้า อย่างศูนย์การค้า Citycon ที่ Lippulaiva ในประเทศฟินแลนด์ มุ่งสู่ Net Zero ได้ โดยชไนเดอร์ใช้อัลกอริทึมของแมชชีนเลิร์นนิ่งมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เครื่องกำเนิดพลังงาน สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ เครื่องกำเนิดพลังงานสำรอง ระบบ HVAC ระบบแสงสว่าง ระบบ UPS ระบบพลังงานความร้อนร่วม (Combined heat and power หรือ CHP) ตลอดจนการวัดและตรวจสอบการใช้บริการสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่อบริหารดีมานด์และซัพพลายด้านพลังงานได้อย่างเหมาะสมตลอดเวลา

เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยระบบอัตโนมัติเข้ามาปฏิวัติเรื่องประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยการใช้ความสามารถด้านการวิเคราะห์ช่วยให้บริษัทปรับปรุงกระบวนการทำงาน ลดระยะเวลาดาวน์ไทม์ และบรรลุประสิทธิภาพการดำเนินงานได้อย่างน่าทึ่ง ตัวอย่างที่ดีคือ Accioca ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของสเปน ได้แสดงให้เห็นถึงขุมพลังในการปฏิรูปของเทคโนโลยีนี้ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ร่วมกับ AVEVA โดย Acciona ได้นำ PI System ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการบริหารจัดการข้อมูลมาใช้งานร่วมกับระบบอัตโนมัติ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานเพิ่มขึ้นถึง 20% นอกจากนี้ยังช่วยลดการใช้พลังงานของปั๊มแรงดันสูงได้ถึง 4.6% และป้องกันการหยุดชะงักของโรงงานทั้งหมดได้ถึงสามครั้ง จากการคาดการณ์ปัญหาได้ล่วงหน้า

Industrial technology concept.

เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรม ศูนย์กลางของธุรกิจ

ในการนำระบบอัตโนมัติมาใช้งานไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือ การควบคุมคุณภาพของข้อมูล ความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความเสี่ยงทางดิจิทัล

คุณภาพของข้อมูล และความน่าเชื่อถือ

ระบบอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแมชชีนเลิร์นนิ่ง หรือเทคโนโลยีอัจฉริยะ ต้องอาศัยข้อมูลที่ถูกฝึกมา เพราะระบบอัจฉริยะที่ถูกฝึกด้วยข้อมูลปริมาณมหาศาลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต ก็อาจจะไม่แม่นยำและเกิดความอคติได้เช่นกัน เรื่องนี้เป็นเหตุผลที่ว่า โมเดลภาษาขนาดใหญ่ หรือ LLMs อาจจะไม่ได้เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมที่มีกฎระเบียบเข้มงวด อย่างพลังงาน

ดังนั้น วิธีการแก้ไขปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือคือ การให้มนุษย์เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ สามารถช่วยตรวจสอบ และปรับปรุงรูปแบบด้วยการใช้ข้อมูลคุณภาพสูง ทำให้มีความแม่นยำมากขึ้น หากระบบอัจฉริยะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานประจำวัน การให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพของข้อมูล และการจัดการกับอคติที่อาจเกิดขึ้นในข้อมูลฝึกถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่ชไนเดอร์ เรายังใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะในการกลั่นกรองข้อมูลเพื่อลบอคติออกไป และเพื่อให้มั่นใจว่านำระบบอัจฉริยะมาใช้อย่างมีความรับผิดชอบ

ความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเสี่ยงทางดิจิทัล

ความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเสี่ยงทางดิจิทัล เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับผู้บริหารหลายคน ในฐานะซีอีโอของบริษัทที่ขับเคลื่อนการปฏิรูปพลังงานด้วยการปรับกระบวนการทำงานสู่ดิจิทัล และเทคโนโลยีที่มักจะถูกถามว่า “ระบบอัจฉริยะนี้พัฒนาได้เร็วแค่ไหน?” และ “มีความเสี่ยงอะไรบ้าง?”

ความจริงคือ ระบบอัตโนมัติพร้อมใช้งานแล้วในวันนี้ เพราะแนวคิดเรื่องของปัญญาประดิษฐ์มีมานานเกือบ 70 ปีมาแล้ว เพราะชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ทำงานร่วมกับระบบอัตโนมัติในรูปแบบต่างๆ มานานกว่า 40 ปี พร้อมกับได้ก่อตั้งองค์กรที่ดูแลด้านปัญญาประดิษฐ์ขึ้นโดยเฉพาะ ก่อนที่ GPT ของ OpenAI จะเกิดด้วยซ้ำ นอกจากนี้ เรายังได้แต่งตั้งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อดูแลกลยุทธ์ด้านนี้ในบทบาทการทำงานสำคัญๆ

สำหรับองค์กรที่กำลังกำหนดกลยุทธ์ในการใช้ระบบอัตโนมัติ ควรพิจารณา