ยูโอบี ฟินแล็บ เปิดตัว 6 โครงการนำร่องกรีนเทคในไทย ขับเคลื่อนความยั่งยืนในอาเซียน

Share

ยูโอบี ฟินแล็บ หน่วยงานส่งเสริมนวัตกรรมของธนาคารยูโอบี เปิดตัว 6 โครงการนำร่องเทคโนโลยีสีเขียว หรือกรีนเทค (GreenTech) ในประเทศไทย โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ GreenTech Accelerator 2024 ซึ่งมุ่งส่งเสริมการพัฒนาโซลูชันที่ยั่งยืนเพื่อรับมือกับปัญหาท้าทายด้านความยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ ยูโอบีได้มอบเงินทุนสนับสนุนรวมกว่า 2.7 ล้านบาท (100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์) ให้แก่ 15 โครงการที่ผ่านการคัดเลือกจาก 33 บริษัทกรีนเทคในภูมิภาค

โครงการ GreenTech Accelerator 2024 จัดขึ้นเป็นระยะเวลา 6 เดือน ถือเป็นโครงการระดับภูมิภาคครั้งที่สอง โดยได้รับการออกแบบมาเพื่อเร่งการพัฒนาเทคโนโลยีที่ยั่งยืน พร้อมส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างบริษัทกรีนเทค องค์กรธุรกิจ และหน่วยงานต่างๆ ทั่วอาเซียน ในปีนี้ มีบริษัทจากสิงคโปร์ 12 แห่ง มาเลเซีย 9 แห่ง และไทย 12 แห่ง เข้าร่วม โดยทั้งหมดได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน GreenTech Accelerator 2024 Showcase Day ซึ่งจัดขึ้นระหว่างงาน Singapore FinTech Festival

ในประเทศไทย โครงการนำร่อง 6 โครงการที่ได้รับการคัดเลือกจะดำเนินการร่วมกับยูโอบี ประเทศไทย และองค์กรพันธมิตร เช่น ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และคิงด้อม ออร์แกนิค เนทเวิร์ค ตัวอย่างโครงการสำคัญ ได้แก่ การนำเทคโนโลยีของ AltoTech Global มาใช้วิเคราะห์รูปแบบการใช้พลังงานที่อาคารยูโอบี พลาซา กรุงเทพ เพื่อลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงโครงการร่วมมือระหว่าง GEPP Sa-Ard และอิมแพ็ค เมืองทองธานี เพื่อพัฒนาโซลูชันลดปริมาณขยะในงานอีเวนต์ และการจัดการแข่งขัน Carbon League ที่ริเริ่มโดย CERO และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เพื่อปลูกฝังค่านิยมคาร์บอนต่ำในเยาวชน

นายบัลลังก์ ว่องธวัชชัย Head of Digital Engagement and FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “โครงการ GreenTech Accelerator 2024 สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของยูโอบีในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน เราเชื่อว่า ด้วยการสนับสนุนจากเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่ง บริษัทกรีนเทคในภูมิภาคจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้”

โครงการ GreenTech Accelerator 2024 ยังต่อยอดความสำเร็จจากการดำเนินการครั้งแรกในปี 2022 ที่สิงคโปร์ ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งโครงการความร่วมมือ 8 รายการ และในปีนี้ได้ขยายขอบเขตให้ครอบคลุมประเทศไทยและมาเลเซีย นอกจากเงินทุนสนับสนุนแล้ว โครงการยังมอบโอกาสให้บริษัทกรีนเทคเข้าร่วมการฝึกอบรมในหลักสูตรมาสเตอร์คลาส และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกับผู้นำด้านอุตสาหกรรมกว่า 27,000 ราย

ยูโอบี ฟินแล็บ ยังคงมุ่งมั่นส่งเสริมนวัตกรรมด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง พร้อมเตรียมเปิดตัวโครงการใหม่ในปี 2025 เพื่อสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ยั่งยืนในระดับภูมิภาค และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกที่ยั่งยืนในอาเซียนต่อไป

รายชื่อ 15 โครงการนำร่องในโครงการ GreenTech Accelerator 2024

ลำดับที่ โครงการนำร่อง / พันธมิตร ประเทศ รายละเอียด
1 อัลโต้เทค โกลบอล

 

ยูโอบี ประเทศไทย

ประเทศไทย อัลโต้เทค โกลบอล จะจัดหาเทคโนโลยีเพื่อช่วยวิเคราะห์รูปแบบการใช้พลังงานที่สำนักยูโอบี พลาซา กรุงเทพ ค้นหาจุดที่สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และเสนอคำแนะนำในการทำงานเชิงอัตโนมัติเพื่อช่วยลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
2 นาโน โค๊ตติ้ง เทค

 

ยูโอบี ประเทศไทย

ประเทศไทย UOB CRES จะนำโซลูชันของบริษัทนาโน โค๊ตติ้ง เทค มาใช้กับแผงโซลาร์เซลล์ 116 แผง และกระจกอาคาร 1,745 ตารางเมตรที่สำนักยูโอบี พลาซา กรุงเทพ รวมถึงชั้น 1 ของอาคารและสะพานเชื่อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
3 CERO

ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ประเทศไทย อิมแพ็ค เมืองทองธานี จะนำ Carbon Event Smart Dashboard ของบริษัท CERO มาทดลองใช้เพื่อติดตามข้อมูลเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจกและดูเมตริกความยั่งยืนในเวลาจริง สำหรับงานที่จัดขึ้นที่ อิมแพ็ค อารีนา (IMPACT Arena) ที่ได้รับคัดเลือกแพลตฟอร์ม CERO จะส่งเสริมพฤติกรรมที่ยั่งยืนในหมู่ผู้เข้าร่วมงานและสอดคล้องกับความพยายามด้านความยั่งยืนที่กำลังดำเนินอยู่ของ อิมแพ็ค เมืองทองธานี
4 CERO

 

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ประเทศไทย สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ต้องการเปลี่ยนความพยายามด้านความยั่งยืนเป็นเกม โดยให้นักเรียนติดตามและลดคาร์บอนฟุ๊ตพริทน์ของตนเองผ่านกิจกรรมต่าง ที่ออกแบบมาเพื่อส่งผลต่อพฤติกรรมประจำวันที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก

โครงการนำร่องนี้มุ่งเป้าที่นักเรียนของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์จำนวน 200 คนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมด้านความยั่งยืนที่หลากหลายเป็นระยะเวลา 3 เดือนผ่านแพลตฟอร์ม CERO ประกอบด้วยการรีไซเคิล การลดขยะ การเลือกอาหารที่ปล่อยคาร์บอนต่ำและการประหยัดพลังงาน

5 GEPP Sa-Ard (เก็บ สะอาด)

ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ประเทศไทย GEPP Sa-Ard (เก็บ สะอาด) จะนำระบบและบริการการจัดการขยะที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลแบบครบวงจรมาดำเนินการ เพื่อให้การเก็บข้อมูลขยะตามจุดต่างๆ ในงานที่จัดขึ้นที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี  มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
6 Wongphai

(วงศ์ไผ่)

 

บริษัท คิงด้อม ออร์แกนิค เนทเวิร์ค

 

ประเทศไทย วงศ์ไผ่จะจัดหาไม้ไบโอชาร์จำนวน 4 ตันให้กับบริษัท คิงด้อม ออแกนิค เนทเวิร์ค เพื่อนำไปใช้ในฟาร์มออร์แกนิก เพื่อเพิ่มผลผลิตของฟาร์มและสอดคล้องกับมาตรฐาน EU, USDA Organic (โดยเฉพาะในการผลิตมะกรูด ตะไคร้ และมะนาว)

การเพิ่มผลผลิตพืชและผลผลิตฟาร์มที่คาดว่าจะได้จากการใช้ไม้ไบโอชาร์มีดังนี้:

1) มะกรูด: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20

2) ตะไคร้: มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 15-25

3) มะนาว: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20

7 Circular Unite

 

ยูโอบี

สิงคโปร์ Circular Unite จะนำแผนการตรวจสอบและจัดประเภทขยะมาใช้ที่ยูโอบี ซึ่งจะช่วยวัดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในระดับผู้เช่าที่สำนักยูโอบี พลาซา ได้อย่างละเอียด โครงการนี้จะช่วยให้การวัดข้อมูลขยะมีความแม่นยำและปรับปรุงประสิทธิภาพการเก็บข้อมูลขยะได้
8 GreenFi

 

ยูโอบี

สิงคโปร์ GreenFi กำลังพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูล ESG แบบ White-labelled ซึ่งจะช่วยให้ยูโอบีและบริษัทในเครือติดตามและจัดการข้อมูลการปล่อยก๊าซ ESG ของสินทรัพย์ได้ นอกจากนี้ยังมุ่งหวังที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลอีกด้วย
9 Smart Tradzt

 

ยูโอบี

สิงคโปร์ Smart Tradzt จะจัดฝึกอบรม ให้คำปรึกษา และพัฒนาโมเดลการประเมิน RFP สำหรับการจัดซื้อภายในทีม UOB CRES เพื่อช่วยประเมินและรวมประสิทธิภาพด้าน ESG และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเวนเดอร์เข้ากับเกณฑ์การคัดเลือกในระยะยาว

โครงการนำร่องนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการตัดสินใจเลือกซัพพลายเออร์ที่ดียิ่งขึ้น

10 Smart Tradzt

 

DKSH Healthcare

สิงคโปร์ Smart Tradzt จะจัดฝึกอบรม ให้คำปรึกษา และนำโซลูชัน Product Carbon Footprint (PCF) ในรูปแบบดิจิทัลมาใช้เพื่อคำนวณคาร์บอนฟุ๊ตพรินท์ของบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ของ DKSH Healthcare ซึ่งจะใช้แทนบรรจุภัณฑ์โฟมกันกระแทก

แพลตฟอร์ม PCF ของ Smart Tradzt ช่วยให้ DKSH Healthcare แชร์ข้อมูล PCF กับลูกค้าบรรจุภัณฑ์ และช่วยให้การคำนวณการปล่อยก๊าซในขอบเขตที่ 3 เป็นไปอย่างง่ายดายและแม่นยำ นอกจากนี้ DKSH Healthcare ยังมีแผนที่จะเผยแพร่ผลการศึกษาในรายงานความยั่งยืนของบริษัท เพื่อยกระดับความโปร่งใสและความรับผิดชอบอีกด้วย

Smart Tradzt ปฏิบัติตามกรอบการทำงาน PACT (Partnership for Carbon Transparency) ของสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (WBCSD)

11 Circular Unite

 

Ngee Ann Polytechnic

สิงคโปร์ Circular Unite จะนำระบบ IoT ติดตามขยะมาใช้เพื่อยกระดับการเก็บข้อมูลขยะและการรีไซเคิลที่แม่นยำในระดับผู้เช่าสำหรับโรงอาหารหนึ่งแห่งและอาคารสำนักงานหนึ่งแห่ง รวมถึงการฝึกอบรมทีมปฏิบัติการและการมีส่วนร่วมของผู้เช่า

โครงการนี้จะช่วยเพิ่มความชัดเจนในข้อมูลขยะ ปรับปรุงประสิทธิภาพการรีไซเคิลขึ้นร้อยละ 30 เพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดขยะขึ้นร้อยละ 20 และเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานจากการเก็บข้อมูลขึ้นร้อยละ 90

12 Co.Efficient Alpha

 

Great Cosmo

มาเลเซีย Co.Efficient Alpha มุ่งหวังที่จะติดตั้งระบบเพิ่มประสิทธิภาพแรงดันไฟฟ้าที่โรงงานของ Great Cosmo เพื่อลดการใช้พลังงาน ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานของอุปกรณ์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น อายุการใช้งานของอุปกรณ์ยาวนานขึ้น ตลอดจนปรับปรุงกำลังไฟฟ้าจริงและลดฮาร์มอนิก

เมื่อติดตั้งระบบเพิ่มประสิทธิภาพแรงดันไฟฟ้าแล้ว คาดว่าบริษัท Great Cosmo จะลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณร้อยละ 10 และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 13 ตันต่อเดือน

13 Intlife

 

HCK Capital Group

มาเลเซีย Intlife จะนำระบบ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์ IoT มาใช้ในสำนักงานของ HCK Setia Alam (พื้นที่ 2,800 ตารางฟุต) เพื่อช่วยคาดการณ์และควบคุมการใช้พลังงานในเวลาจริงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน

โครงการนำร่องนี้ยังจะเป็นการสาธิตให้ลูกค้าเป้าหมายที่มาเยี่ยมชมโชว์รูมได้ชมจริง เพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสีเขียวไปใช้ในสินทรัพย์ของตน

14 IVIS Tech

 

Great Cosmo

มาเลเซีย IVIS Tech จะนำอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเซนเซอร์ IoT, มิเตอร์ไฟฟ้า และเกตเวย์ดิจิทัล มาใช้กับสายการผลิตของบริษัท Great Cosmo ที่โรงงานในเมืองราวัง IVIS Tech จะบันทึกข้อมูลการดำเนินงานในโรงงานเป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อแสดงผลการใช้พลังงานในเวลาจริง ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจถึงกระบวนการในปัจจุบันที่สามารถนำไปปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นได้
15 Wimera

 

GB Industries

มาเลเซีย GB Industries ต้องการติดตามการใช้พลังงานในพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นที่เครื่องทำน้ำอุ่น พื้นที่การจุ่ม พื้นที่บรรจุภัณฑ์ และพื้นที่การบำบัดน้ำ บริษัท Wimera จึงเสนอวิธีการติดตามพลังงานบนคลาวด์สำหรับเครื่องทำน้ำอุ่น 1 เครื่องพร้อมมิเตอร์ไฟฟ้า 1 เครื่องสำหรับโครงการนำร่องนี้

โครงการนี้จะนำไปสู่การลดการใช้พลังงานในพื้นที่เครื่องทำน้ำอุ่นของ GB Industries ที่ปัจจุบันมีเครื่องทำน้ำอุ่น 15 เครื่องและใช้พลังงานประมาณ 80,000 kWh ต่อเดือน