เอสเอพี ประเทศไทย MOU DEPA เพิ่มทักษะดิจิทัลของเยาวชนและผู้ประกอบการไทย

Share
เอสเอพี ประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า (Depa) ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อริเริ่มเปิดตัวโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ทางดิจิทัลสำหรับเยาวชน ผู้ประกอบการธุรกิจ รวมถึงคนทำงานรุ่นใหม่ที่ต้องการพัฒนาความรู้ด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีแห่งอนาคต (Emerging Technologies)ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือนี้ ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้บนแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อให้เยาวชนและผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศไทยสามารถเรียนรู้ เพิ่มพูนทักษะได้ตลอดชีวิต (Lifelong learning)โดยจะร่วมกันพัฒนาการเรียนรู้บนโลกออนไลน์ในระบบการศึกษาแบบเปิดผ่านหลักสูตรออนไลน์ของ เอสเอพี ตลอดจนนำนวัตกรรมดิจิทัลที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการจัดการการเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและคงไว้ซึ่งคุณภาพสำหรับแผนส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตนอกจากนี้ยังมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอหลักสูตรในด้านเทคโนโลยีแห่งอนาคต พร้อมจัดตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อกำกับดูแลการดำเนินการตามข้อตกลงความร่วมมือนี้ ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลกล่าวว่า “เนื่องจากเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตคิดเป็นสัดส่วนถึง 30% ของ GDP ภายในปี 2573 หรืออาจเร็วกว่านั้น

การพัฒนาและส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลให้กับเยาวชนและภาคธุรกิจของไทยจึงเป็นสิ่งที่ DEPA ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ จะเห็นได้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เยาวชนและผู้ประกอบการไทยกำลังปรับตัวเพื่อให้มีทักษะตรงตามความต้องการของตลาดในยุค Digital Transformation เช่น การใช้เครื่องมือดิจิทัลและความเข้าใจในกระบวนการทำงานเชิงดิจิทัลความร่วมมือกับภาคเอกชนจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ได้เรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต ความร่วมมือกับเอสเอพีในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมและต่อยอดความพยายามของ DEPA ในการพัฒนาทักษะดิจิทัลใหม่ให้กับเยาวชนและผู้ประกอบการไทย”

ขณะเดียวกัน เอสเอพี ยังนำทรัพยากรขององค์กรไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์และบริการเทคโนโลยีอัจฉริยะ ตลอดจนบุคลากรที่มีความสามารถ มาผนึกกำลังให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเสริมทักษะด้านดิจิทัลที่จำเป็นในศตวรรษนี้ และเตรียมความพร้อมให้กับคนรุ่นใหม่ ผู้ซึ่งเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนอนาคต

จากการศึกษาของเอสเอพี แสดงถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดหาบุคลากรที่มีทักษะสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของประเทศ นายเอทูล ทูลิ กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี อินโดไชน่า กล่าวว่า “ผลการศึกษาล่าสุดของเรา พบว่า การขาดบุคลากรที่มีทักษะ เป็นความท้าทายอันดับต้น ๆ ของธุรกิจไทยในการขับเคลื่อนการเติบโตและเร่งเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล ความท้าทายนี้ฉีกรูปแบบความท้าทายเดิมที่ธุรกิจเคยพบเจอในอดีต เช่น  The study, ‘Transformational Talent: The impact of the Great Resignation on Digital Transformation in APJ’s SMEs’, January 2022, The sample comprised 1,363 respondents across eight key countries included Thailand (n=207) ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ การขาดงบประมาณ และการขาดความเข้าใจเกี่ยวกับโซลูชันดิจิทัล”
“การบ่มเพาะบุคลากรที่มีความสามารถและการพัฒนาทักษะทางดิจิทัลเป็นรากฐานสำคัญในการเสริมสร้างขุมพลังของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนให้ประเทศเติบโตได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ เอสเอพี มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนงานด้านดิจิทัลทั้งในประเทศไทยและทั่วทั้งภูมิภาคมาโดยตลอด ความร่วมมือในครั้งนี้ตอกย้ำความพยายามของเราในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล ผลักดันให้ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืน เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นพันธมิตรกับ DEPA ในการยกระดับทักษะดิจิทัลและร่วมกันสร้างอนาคตดิจิทัลของประเทศไทย สรรค์สร้างนวัตกรรม เพื่อช่วยให้โลกดำเนินต่อไปได้ดียิ่งขึ้นพร้อมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน” นายเอทูล กล่าวปิดท้าย