Art for All เดินหน้าขับเคลื่อน SDGs ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม จัดงานเสวนา “การยกระดับวิถีชีวิต ผู้ด้อยโอกาส / ผู้พิการ อย่างยั่งยืน”

Share

Art for All มูลนิธิศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ โครงการดีเด่นของชาติสาขาพัฒนาสังคม (ด้านพัฒนาผู้ด้อยโอกาส) ก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 4 จัดงานเสวนา “การยกระดับวิถีชีวิต ผู้ด้อยโอกาส / ผู้พิการ อย่างยั่งยืน” เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น และข้อมูลเชิงสถานการณ์ที่มูลนิธิฯ ได้ขับเคลื่อนอันเป็นประโยชน์แก่คนพิการ เพื่อมุ่งหวัง ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการไทย สอดคล้องโดยตรงกับการดำเนินงานของมูลนิธิฯ ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ

ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ประธานมูลนิธิศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ ( Art for All) เปิดเผยว่า การดูแลผู้พิการนั้น สอดคล้องโดยตรงกับการดำเนินงานของมูลนิธิฯ ที่ได้นำเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ สหประชาชาติ Sustainable Development Goal มาเป็นกรอบในการดำเนินการดำเนินงาน ซึ่งกรอบดังกล่าวมี SDGs ที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการ 4 SDGs คือ SDGs 4 การขจัดความเหลื่อมล้ำและทำให้ผู้พิการเข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพทุกระดับอย่างเท่าเทียม SDGs 8 การบรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพและการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้มีภาวะทุพพลภาพ และให้การจ่ายค่าจ้างที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียม

SDGs 10 การเสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมความครอบคลุมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ ความพิการ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ แหล่งกำเนิด ศาสนา สถานะทางเศรษฐกิจ หรืออื่นๆ และ SDGs 11 การทำให้ผู้พิการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะสีเขียวที่ปลอดภัย ครอบคลุม และเข้าถึงได้ เพราะฉะนั้น การจัดงานเสวนาในครั้งนี้ จึงมีความสอดคล้อง สนับสนุน การดำเนินงานของมูลนิธิฯเป็นอย่างยิ่ง ในการมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ตามแนวทางของสหประชาชาติ ภายในปี ค.ศ.2025 เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมกันของคนทุกคนในสังคมและไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ในงานเสวนาในครั้งนี้ มีหัวข้อเสวนาและบรรยายพิเศษทั้งหมด 7 หัวข้อ ดังนี้

1.  สู่ทศวรรษที่ 4 โครงการดีเด่นของชาติ “ศิลปะเพื่อมวลมนุษย์” (Art for All) โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ประธานผู้ริเริ่ม Art for All

2.  นโยบายการพัฒนา ผู้ด้อยโอกาส/ ผู้พิการ องค์การสหประชาชาติ โดย คุณประสงค์ องค์ปรีชากุล

3. “การยกระดับชีวิต ผู้ด้อยโอกาส / ผู้พิการ อย่างยั่งยืน” ร่วมเสวนาโดย คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา/ประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย คุณกฤษณะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล คุณต่อพงศ์ เสลานนท์ กสทช. ด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ และคุณอนุรักษ์ นิยมเวช กรรมการผู้จัดการ บริษัท กฎหมายธุรกิจอนุรักษ์ จำกัด อดีต สมาชิกวุฒิสภาและประธานกรรมาธิการพัฒนาการเมืองการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา

4.  มุมมองด้านการเข้าสู่ตลาดแรงงานยุค GenAI การลงทุน และการท่องเที่ยว ร่วมเสวนาโดย คุณวิทิตนันท์ โรจนพานิช คนไทยคนแรกที่ปีนยอดเขาเอเวอเรสต์สำเร็จ คุณอรรถพล ศรีวิษณุวรานน ผู้ผลักดันสิทธิคนพิการ คุณณัฐพล ราธี Head of Experimentation, UNDP Accelerator Lab และคุณนลัทพร ไกรฤกษ์ บรรณาธิการเว็บไซต์ Thisable.me

5.  มุมมองคนใกล้ตัว ครอบครัว และการศึกษา ร่วมเสวนาโดย คุณโสภา สุจริตกุล คุณแม่น้องลูกเสือ เด็กดาวน์นักเต้น ดร.พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์ นักวิชาการ การศึกษาพิเศษ คุณภรณี เช้าเจริญประกิจ คุณแม่น้องวุฒิ มือกลอง และคุณวิทยาภรณ์ เมืองมูลสุรินทร์ เจ้าหน้าที่อาสาสมัครผู้พิการสำนักงาน เขตราษฎร์บูรณะ หน้าที่สอนดนตรีให้เด็ก โรงเรียนวัดสน สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ

6.  มุมมองด้านโครงสร้าง; บ้านพัก ที่ทำงาน อาคารสถานที่ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ร่วมเสวนาโดย ดร. วาริน รัชนานุสรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น (depa) คุณปุญญพัฒน์ โศภาอัมพรฉัตร Co-Founder, CEO Heal & Soul Technology Company และ ดร.จักรกฤษณ์ เหลืองเจริญรัตน์ GENSLER (Thailand) Director

7. มุมมองด้านนโยบายรัฐ กฏหมาย สิทธิ และโอกาส ร่วมเสวนาโดย คุณณิชชารีย์ เป็นเอกธนะศักดิ์ ธันย์ สาวน้อยคิดบวก (คนพิการทางร่างกาย) “4 Prae Sunantaraks” Mr. Rawat Chomsri Partners Siam Premier คุณพิชญาพร โพธิ์สง่า พิธีกรข่าว Ms. Prae Sunantaraks Director – Thailand & Laos | AVPN และคุณยุทธกฤต เฉลิมไทย ผู้ก่อตั้ง EDeaf: Education for the Deaf พร้อมด้วยการแสดงศักยภาพคนพิการและศิลปินจิตอาสา โดย น้องเสือ ฉายวิชญ์ สุจริตกุล น้องวุฒิ ณัฐวุฒิ กีรติชัยพันธ์ และคุณวิทยาภรณ์ เมืองมูลสุรินทร์

การจัดงานเสวนา ในนามมูลนิธิฯ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้เข้าร่วมจะเกิดความเข้าใจ และ เกิดประโยชน์ในระดับปัจเจกและระดับสังคมโดยรวม พร้อมจะขับเคลื่อนเพื่อดูแลคนพิการอย่างเท่าเทียม เพื่อที่ในอนาคตผู้พิการในประเทศไทยจะได้ใช้ชีวิตอย่างอิสระ และเต็มศักยภาพ เพื่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดก็คือการที่พวกเราต้อง “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” เนื่องจาก สังคมที่ผู้อยู่กันอย่างเสมอภาค และเท่าเทียม คือ สังคมที่มีความผาสุก เช่นนี้เราทุกคนจึงล้วนมีส่วนร่วม และมีสิทธิที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการนำมาซึ่ง การพัฒนาที่ยั่งยืนให้แก่สังคม เศรษฐกิจ และ สิ่งแวดล้อม ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวเพิ่มเติม

“Art for All” มุ่งปลูกจิตสำนึกเยาวชนให้ตระหนักในคุณค่าความเป็นมนุษย์ เพื่อประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นคนดี และ มีคุณค่าต่อสังคม สร้างเจตคติและค่านิยมอันดีงามของสังคมต่อเพื่อนมนุษย์โดยเคารพในความหลากหลาย และมุ่งเน้นทำนุบำรุงและสืบสานศิลปวัฒนธรรม จึงเป็นที่มาของ “พันธกิจ” ของโครงการ ที่มุ่งเน้น “การสร้างคุณค่าชีวิตให้กับผู้พิการและก้าวสู่วันข้างหน้า ด้วยการสร้างความสุขสงบในชีวิตให้กับผู้ต้องขัง รวมถึงการสร้างมรดกทางศิลปวัฒนธรรมเพื่อความมั่นคงของชาติ ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวทิ้งท้าย