Elekta (EKTA-B.ST) ประกาศจัดตั้งสำนักงานแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ โดยมุ่งนำวิทยาการการรักษาโรคมะเร็งให้แก่ประเทศไทยและประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชีย โดยทางบริษัทฯ ได้จัดประชุมผู้ใช้งานขึ้นครั้งแรก ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 เพื่อแบ่งปันทักษะความรู้และความชำนาญในทางรังสีรักษาให้กับผู้ใช้งาน
มาร์โค ลี รองประธานอาวุโสบริษัท Elekta ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กล่าวว่า “เนื่องด้วยประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นในทุกๆปี การจัดตั้งบริษัท Elekta ในประเทศไทยจึงมีส่วนช่วยในการสนับสนุนวิทยาการ และ ให้การรักษาที่มีคุณภาพสูงให้แก่ผู้ป่วย นอกจากนี้ยังช่วยให้เราใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น อีกทั้งการจัดตั้งบริษัท Elekta ยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยที่ต้องการเพิ่มจำนวนเครื่องฉายรังสี เพื่อย่นระยะเวลาการเข้าถึงการรักษา”
โดย Elekta จะดำเนินการตามกลยุทธ์ – ACCESS 2025 – ซึ่งมีเป้าหมายในการเสริมสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งในประเทศที่มีการเติบโตสูง อาทิเช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม อีกทั้งยังคาดหวังให้ Elekta ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ที่ช่วยสนับสนุนเป้าหมายนี้ ในขณะเดียวกันยังช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านให้เข้าถึงและได้รับการบริการอย่างทั่วถึงอีกด้วย
สำหรับการประชุมผู้ใช้งานครั้งแรกของ Elekta แห่งประเทศไทย ได้มีโรงพยาบาลและกลุ่มลูกค้าทางการแพทย์ต่างๆเข้าร่วมกว่า 40 องค์กร โดยในงานประชุมมีการนำเสนอวิทยาการเทคโนโลยีทางการแพทย์ล่าสุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนทางรังสีรักษาให้แก่ผู้ป่วย ผ่านแอปพลิเคชั่น ที่ชื่อว่า ProKnow บนคราวด์ โดย ProKnow จะเป็นตัวช่วยในการเรียนรู้ เพื่อสร้างแผนการรักษาที่ถูกต้องและแม่นยำ โดยพิจารณาจากลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยและลักษณะของเนื้องอก โดยแผนการรักษาที่ดีจะช่วยให้สามารถกำหนดขอบเขต และ ปริมาณรังสีที่เหมาะสมแก่เนื้องอกและลดความเสียหายต่อเนื้อเยื่ออื่นรอบข้างได้ นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะระหว่างผู้เข้าร่วมใช้งานบนแอปพลิเคชั่น เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี และ ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานทางการแพทย์ของผู้เข้าร่วมต่อไป
บทสัมภาษณ์กับ Marco Lee – รองประธานอาวุโสของ Elekta ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น การประชุมผู้ใช้ Elekta 12 พ.ย. 2566 ณ โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ กรุงเทพฯ
ทำไม Elekta ถึงตัดสินใจจะเข้าสู่ตลาดประเทศไทยโดยตรง?
มาร์โก ลี: หนึ่งในเหตุผลหลักที่ Elekta ต้องการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยก็เพราะเราเห็นว่าโรคมะเร็งในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นElekta จึงเลือกที่จะเข้ามาสนับสนุนรัฐบาลและทางการแพทย์ในแง่ของการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง
หนึ่งในแรงจูงใจของเราคือการช่วยให้ประเทศไทยรับมือกับการระบาดของโรคมะเร็งที่เพิ่มขึ้น การเข้าสู่ตลาดคือการที่เราเข้าถึงแพทย์มากขึ้น ส่งผลให้เราสามารถมั่นใจได้ว่าเราสามารถแบ่งปันเทคโนโลยีของ Elekta รวมถึงแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่เราเคยแบ่งปันให้กับตลาดอื่นๆ ให้พวกเขาได้ นั่นจะเป็นแนวทางแก้ไขที่ดีกว่า การรักษาและการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทยในปัจจุบัน
งบประมาณที่ Elekta คาดว่าจะลงทุนและสนับสนุนประเทศไทยคือเท่าไร?
มาร์โก ลี: สถานการณ์ที่เป็นอยู่จำเป็นต่อการพิจารณา จำนวนเครื่องจักรที่เรามีเมื่อเทียบกับจำนวนเครื่องจักรที่ประเทศไทยต้องการ เพื่อลดระยะเวลาในการรอคอยของผู้ป่วย
เราจะมาดูว่าจะต้องนำทรัพยากรเข้ามาในประเทศไทยมากน้อยเพียงใด เพื่อช่วยประเทศรับมือกับอัตราโรคมะเร็งที่เพิ่มขึ้น ซึ่ง Elekta พร้อมเสมอที่จะนำเข้ามา
Elekta วางแผนในการใช้งบประมาณสนับสนุนในประเทศไทยในด้านใดบ้าง
มาร์โก ลี:เราจะดูสถานการณ์ความต้องการในตลาดการเเพทย์ เราคาดว่าเมื่อจำนวนเครื่องจักรในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้น เราจึงจำเป็นต้องมีวิศวกรมากขึ้น มีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการมากขึ้น นั้นเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการใช้งบประมาณ
Elekta มีความคิดเห็นอย่างไรที่จะสามารถช่วยสนับสนุนการรักษาโรคมะเร็งในประเทศไทย?
Marco Lee: อันดับแรกสิ่งที่ Elekta สามารถทำได้คือนำเสนอเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมเข้าสู่ตลาดประเทศไทย ประการที่สองคือการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ ต้องให้พวกเขาเข้าใจว่าแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในปัจจุบันคืออะไร เช่น ในปัจจุบัน ในแง่ของการดูแลในระดับที่สูง แพทย์ส่วนใหญ่ในประเทศใช้การแยกส่วนแบบไฮโป จำนวนความถี่ที่ผู้ป่วยต้องการในการฉายรังสีจะลดลง สร้างความสะดวก ปลอดภัย และยังช่วยลดต้นทุนให้กับภาครัฐในด้านการดูแลรักษาโรคมะเร็งอีกด้วย ทั้งหมดนี้สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ด้วยโปรแกรม เทคโนโลยีล่าสุดของ Elekta และวิธีที่เราทำงานร่วมกับรัฐบาลตลอดจนแพทย์ของประเทศไทยเพื่อนำเสนอโปรแกรมและโซลูชั่นดังกล่าว
อธิบายกลยุทธ์ของอีเล็คต้าสำหรับประเทศไทย
มาร์โค ลี: มี 4 กลยุทธ์ กลยุทธ์แรกคือ Elekta มุ่งมั่นที่จะทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีล่าสุดผ่านการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำเสนอต่อตลาด ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีล่าสุดของเราซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีอยู่ในตลาดและได้รับการพิสูจน์แล้วว่าดีสำหรับแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยเพราะแพทย์สามารถดูสิ่งที่พวกเขากำลังรักษาได้ กลยุทธ์ที่สองคือเราต้องการเป็นเพื่อนกับลูกค้าตลอดไป นั่นหมายความว่าหลังจากที่เราขายสินค้าให้กับลูกค้าแล้ว เราจะดูแลโซลูชั่นและสนับสนุนลูกค้า ผู้ซื้อ ทีมวิศวกรของเราที่จะดูแลโซลูชั่นและบริการตลอดจนด้านการศึกษากการใช้งาน เราจัดการอบรมขั้นตอนทางเทคโนโลยีล่าสุดให้พวกเขาได้ทราบ กลยุทธ์ที่สามคือเราทำผ่านการร่วมมือกับพันธมิตรอื่นๆ ในตลาด เพราะเรารู้ว่าการรักษามะเร็งไม่สามารถทำได้โดยฝ่ายเดียว จริงๆ แล้วมันต้องการการดูแลอย่างเต็มรูปแบบโดยได้รับการสนับสนุนจากทุกคน ตัวอย่างเช่น เราจะต้องทำงานร่วมกับบริษัทด้านการถ่ายภาพ ซึ่งเป็นบริษัทด้านภาพเพื่อการวินิจฉัย เพื่อดูว่าพวกเขาสามารถตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรกได้อย่างไร และหลังจากนั้นอีเล็คต้าก็สามารถเข้ามาในการรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้นได้ นั่นก็หมายความว่าจำนวนการรอดชีวิตของผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้น เราต้องการแน่ใจว่าการนำรังสีรักษามาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในโลก เพราะทุกวันนี้ในตลาดเกิดใหม่หลายๆ แห่งมีคนไม่มากนักที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ เป้าหมายของเราทำเพื่อให้แน่ใจว่าเราสามารถทำงานร่วมกับรัฐบาลและนักลงทุนเพื่อนำเสนอโซลูชันที่มากขึ้นและเครื่องจักรมากขึ้นภายในพื้นที่ที่ด้อยโอกาส ประการที่สี่คือ “ขับเคลื่อนการยอมรับจากทุกเสาหลัก”
หากลูกค้ามีเทคโนโลยีอยู่แล้วหลังจากเข้าประชุมกับ Elekta ในวันนี้ แล้วพบว่า Elekta มีเทคโนโลยีที่อัพเดต เครื่องจักรที่มีอยู่ของลูกค้าสามารถใช้ความรู้ที่ได้รับการปรับปรุงจากการประชุมครั้งนี้ได้หรือไม่ หรือพวกเขาจำเป็นต้องซื้อหรืออัปเกรดเป็นคุณสมบัติใหม่เพื่อให้สามารถนำเทคนิคที่ได้รับการปรับปรุงที่พวกเขาเรียนรู้ในวันนี้ไปใช้ได